ข้อมูลข่าวสาร

intro
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา นำเสนอผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษาประจำปี 2564 ในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 (Thailand Research Expo 2021) “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำทีมนักศึกษาระดับปริญญาตรี นำเสนอผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษาประจำปี 2564 ในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 (Thailand Research Expo 2021) “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ระหว่างวันที่ 22 – 26 พ.ย. 2564 ซึ่งได้คว้าเหรียญทอง 1 รางวัล และเหรียญเงิน 1 รางวัล
          โดยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เสนอผลงานเข้าร่วมคัดเลือกในกลุ่มที่ 3 ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ และสามารถผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศรอบสุดท้ายได้ 2 ผลงาน ได้แก่

     ระบบบริหารจัดการจุดคัดกรองโควิด 19 แบบไร้สัมผัส
     สมาชิกในทีมประกอบไปด้วย
            ทีมนักประดิษฐ์
     นายธวัชชัย พงษ์พัง
     นายอวิรุทธ์ แก้วมืด
     นายนันท์วัฒน์ พลสุวรรณ

            อาจารย์ที่ปรึกษา
     อาจารย์วรินทร์ ไทยรักษ์ (อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก)
อาจารย์ศรีสมพร โคตะคำ (อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก)
ผ.ศ.วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล
อาจารย์เยาวลักษณ์ ชมนาวัง

            สมาร์ทปลั๊ก
     สมาชิกในทีมประกอบไปด้วย
     ทีมนักประดิษฐ์
     นายศุภชัย หมันเล๊ะ
     นายเกียรติศักดิ์ ดุ่งมะลี
     นางสาวสุภาวิณี พิทักษ์ชุมพล

            อาจารย์ที่ปรึกษา
     อาจารย์วรินทร์ ไทยรักษ์ (อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก)
     อาจารย์ศรีสมพร โคตะคำ (อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก)
     อาจารย์จารุกิตติ์ สายสิงห์

     ผลการประกวดแข่งขันปรากฏว่า ระบบบริหารจัดการจุดคัดกรองโควิด 19 แบบไร้สัมผัส ได้รับรางวัล “เหรียญเงิน” และ สมาร์ทปลั๊ก ได้รับรางวัล “เหรียญทอง”

          ซึ่ง มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 (Thailand Research Expo 2021) เวทีระดับชาติที่นำเสนอผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ เพื่อเชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในมิติเชิงวิชาการ นโยบาย สังคม/ชุมชน และพาณิชย์/อุตสาหกรรม โดยจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2549 ด้วยความร่วมมืออันดีระหว่างหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยปีนี้ จัดขึ้นเป็นปีที่ 16

          ภายในงานยังได้มีการจัดกิจกรรมการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งกลุ่มเรื่องนวัต กรรมการแข่งขัน ออกเป็น 5 ด้าน คือ 1. ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร 2. ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ 3. ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ 4. ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model และ 5. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์


จารุกิตติ์ สายสิงห์     29 พฤศจิกายน 2564 เวลา 11:23     1122